1. กรอบแผนยุทธศาสตร์ อนุกรรมการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
วิสัยทัศน์
ร่วมกันบริหารจัดการน้ำอย่างสมดุล คืนความสมบูรณ์ผืนป่าต้นน้ำ ฟื้นฟูที่ดินเกษตรกรรม คุ้มครองชายฝั่ง เพื่อลุ่มน้ำปากพนังยั่งยืน
เป้าหมาย
(1) อนุรักษ์ระบบนิเวศลุ่มน้ำปากพนังให้มีความสมดุลตามธรรมชาติ
(2) บริหารจัดการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในลุ่มน้ำให้สอดคล้องกับศักยภาพ โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและใช้แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างยั่งยืน
(3) ป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษเพื่อเสริมสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับประชาชน โดยกระบวนการและกลไกการ สร้างความตระหนักและปลูกจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมลดปริมาณการเกิดมลพิษและมีการจัดการสิ่งแวดล้อม
(4) สนับสนุนการดำเนินงานในโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : สงวน อนุรักษ์ และฟื้นฟูสภาพนิเวศของ ลุ่มน้ำปากพนังให้คืนความอุดมสมบูรณ์ สมดุลอย่างเป็นระบบ
1. สงวน อนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร พื้นที่ชุ่มน้ำและป่าพรุ
2. ฟื้นฟูและดูแลรักษาป่าชายเลน ป่าชายหาดและ ชายฝั่งพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังให้มีความอุดมสมบูรณ์
3. ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำเพื่อการใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : สนับสนุนวิธีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรดินและน้ำ ในลุ่มน้ำอย่างบูรณาการ อนุรักษ์และยั่งยืน
1. ฟื้นฟูคุณภาพดิน ปรับปรุงและพัฒนา พื้นที่ดินเปรี้ยวพื้นที่ดินเค็มและพื้นที่นากุ้งร้าง
2. การวางแผนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ และการพัฒนาระบบชลประทานเพื่อการเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน
3. บริหารจัดการน้ำอย่างสมดุล ทั้งอุปสงค์และอุปทาน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : ควบคุม ป้องกันมลพิษและเสริมสร้าง คุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในลุ่มน้ำ
1. ผลักดันกลไกและองค์ความรู้ด้านการจัดการคุณภาพน้ำ และน้ำเสีย เพื่อถ่ายทอดให้กลุ่มเป้าหมายร่วมกันแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ
2. เร่งรัดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในลุ่มน้ำมีการบริหาร จัดการแหล่งกำเนิดมลพิษที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม
3. รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักและสร้างเครือข่าย ความร่วมมือในการจัดการมลพิษและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : เสริมสร้างความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมของ ทุกภาคส่วนอย่างเป็นเอกภาพเพื่อบริหารจัดการแบบบูรณาการเชิงรุก
1. เสริมสร้างความรู้ ความตระหนัก และจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
2. พัฒนาและประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติ และคุณภาพสิ่งแวดล้อมในลุ่มน้ำที่มีประสิทธิภาพ
3. ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. ส่งเสริมให้ชุมชนเมืองมีการจัดการสิ่งแวดล้อม ชุมชนที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
2. กรอบแผนยุทธศาสตร์ อนุกรรมการพัฒนาอาชีพ
วิสัยทัศน์
เกษตรกรอยู่ดีมีสุข มีรายได้จากอาชีพการเกษตรอย่างมั่นคง ยั่งยืน และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
พันธกิจ
(1) เพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานด้านชลประทาน และทรัพยากรดิน ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการเกษตรในพื้นที่
(2) ส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และตรงกับความต้องการของเกษตรกร
(3) ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพการเกษตรที่บูรณาการอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผลิต การแปรรูป และการตลาด
(4) ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งทั้งกลุ่มด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด
(5) ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ
เป้าหมาย
ยกระดับรายได้ของครัวเรือนเกษตรให้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1. เพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน
2. ส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3. พัฒนา ฟื้นฟู และปรับปรุงโครงสร้างดินให้เหมาะสมกับการผลิต
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาการผลิต
1. เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มผู้ผลิต
2. ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่
3. ส่งเสริมการทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การเพิ่มมูลค่าผลผลิตและการแปรรูป
1. พัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มมูลค่าผลผลิตและการแปรรูป
2. สร้างความเข้มแข็งและเชื่อมโยงเครือข่ายการตลาด
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การพัฒนาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้
1. พัฒนาและสร้างทางเลือกในการประกอบอาชีพ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล
1. การจัดทำฐานข้อมูล
2. การจัดระบบติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
3 กรอบแผนยุทธศาสตร์ อนุกรรมการประสานการดำเนินงาน
3.1 ยุทธศาสตร์การดำเนินงานหลัก (เจ้าภาพ : อนุกรรมการประสานการดำเนินงานฯ)
3.1.1 วิสัยทัศน์
มุ่งบริหารการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เพื่อพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังสู่ดุลยภาพ
3.1.2 พันธกิจ
1. จัดทำแผนปฏิบัติการ แผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประสานการดำเนินงานโครงการให้สอดคล้องเชื่อมโยงกัน ให้เป็นไปตามแนวพระราชดำริ มุ่งเข้าสู่การพัฒนาปกติ
2. พิจารณากำหนดหน่วยรับผิดชอบและจัดเจ้าหน้าที่ร่วมปฏิบัติงานในศูนย์อำนวยการฯ พร้อมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง และการดำเนินงานพัฒนาในพื้นที่เป้าหมายเฉพาะ
3. กำหนดแนวทางดำเนินการด้านการประชาสัมพันธ์ และปฏิบัติการจิตวิทยาต่อกลุ่มเป้าหมายต่างๆ
4. อำนวยการ ประสานและสนับสนุนการปฏิบัติให้การดำเนินงานเป็น ไปตามแนวพระราชดำริและบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
5. ให้คำแนะนำปรึกษา แก้ไขปัญหาอุปสรรค ติดตามผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานอย่างต่อเนื่อง
3.1.3 เป้าประสงค์
1. เพื่อให้เกิดแผนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆ
2. สามารถจัดสรรงบประมาณของแผนงานต่างๆสนองตรงตามกรอบยุทธศาสตร์ลุ่มน้ำปากพนัง
3. สามารถบูรณาการดำเนินงานในพื้นที่ได้อย่างเป็นเอกภาพ
4. สามารถติดตามประเมินผลได้อย่างเป็นรูปธรรม
3.1.4 ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การบริหารดำเนินงาน และขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง
1. ใช้องค์ความรู้แบบองค์รวมในการขับเคลื่อน และบูรณาการการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ทั้งด้านการพัฒนาอาชีพและพัฒนาสิ่งแวดล้อม
2. การใช้ศูนย์บริการร่วมเพื่อการพัฒนาฯ เป็นศูนย์กลางในการทำงานร่วมกัน และขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ประสานเชื่อมโยงแผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ และแผนปฏิบัติการ เพื่อการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง
1. สังเคราะห์ วิเคราะห์ เพื่อการบูรณาการแผนงานโครงการเชิงพื้นที่
2. ทบทวน ปัญหา สถานการณ์ เพื่อปรับแผนการทำงานให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : พัฒนา การจัดการความรู้ (KM : Knowledge Management) และองค์กรเรียนรู้ (LO : Learnning Organize)
1. รวบรวมองค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริ
2. การจัดทำฐานข้อมูลกลางลุ่มน้ำปากพนัง
3. การรวมศูนย์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนา
4. การสร้างตัวแบบต่อยอดการพัฒนา
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การจัดทำรายงาน การติดตามประเมินผล และเสริมสร้างความเข้าใจ
1. การจัดระบบติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
2. การจัดทำรายงานประจำปี
3. การประชาสัมพันธ์ โครงการ
3.2 ยุทธศาสตร์การดำเนินงานย่อย
3.2.1 ยุทธศาสตร์การจัดการวัชพืชน้ำ ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง (เจ้าภาพ : สนง.ท้องถิ่นจังหวัดนครศรีฯ)
วิสัยทัศน์
ควบคุมปริมาณวัชพืชให้อยู่ในสภาพสมดุล ส่วนราชการและภาคประชาชนร่วมกันดูแลรักษา สิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำปากพนังได้อย่างบูรณาการ
เป้าประสงค์
1. ทุกภาคส่วนร่วมมือกันกำจัดวัชพืชน้ำและควบคุม ปริมาณวัชพืชน้ำให้อยู่ในปริมาณตามสภาพที่เหมาะสม
2. ส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากวัชพืชน้ำ
3. กระตุ้นให้ประชาชนในเขตลุ่มน้ำปากพนังมีความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการกำจัดวัชพืชน้ำและดูแลรักษาลำน้ำ ให้สามารถใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตตามวิถีเกษตรได้อย่างมีคุณภาพ
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การจัดการความรู้ เพื่อการบริหารจัดการ
1. การจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ
2. การเผยแพร่ความรู้ดำนการบริหารจัดการวัชพืชน้ำ
3. การติดตามประเมินผล
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การกำจัดวัชพืช และการดูแลรักษา
1. การกำจัดวัชพืชน้ำ
2. การดูแลรักษาและปรับปรุงคุณภาพน้ำ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การใช้ประโยชน์จากวัชพืชน้ำ
1. การนำวัชพืชน้ำมาทำปุ๋ย
2. ส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์จากวัชพืชน้ำ
3. การนำวัชพืชเพื่อใช้ประโยชน์อื่น
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสร้างจิตสำนึก
1. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ โรงเรียน / องค์กรชุมชน / ประชาชน
2. การสร้างเครือข่ายฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
3. การรณรงค์สร้างความเข้าใจแก่ชุมชนให้ตระหนักถึงปัญหา
3.2.2 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการป่าพรุ ควนเคร็งในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง (เจ้าภาพ : สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช)
วิสัยทัศน์
อนุรักษ์ รักษาและฟื้นฟูพื้นที่ป่าพรุให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ กลับคืนมาเป็นฐานทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังและของประเทศ
เป้าประสงค์
1. การกำหนดเขตป่าพรุที่ชัดเจนลงตัวและเป็นที่ทราบกันทั่วไป
2. การจัดการควบคุมระดับน้ำในพื้นที่ป่าพรุให้เหมาะสมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
3. พัฒนาและรักษาสิ่งแวดล้อมป่าพรุแบบผสมผสานให้เกิดความสมดุลอย่างเป็นระบบ
4. เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนให้เกิดความตระหนัก รู้ในความสำคัญ ของนิเวศป่าพรุต่อการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาทาง กายภาพ ของพื้นที่ป่าพรุ
1. การกำหนดขอบเขตพื้นที่ป่าพรุที่ชัดเจน
2. การศึกษาความเหมาะสมและศึกษา ผลกระทบสิ่งแวดล้อมการพัฒนาพื้นที่ป่าพรุ
3. การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการแก้ปัญหา
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การบริหาร จัดการพื้นที่ป่าพรุ อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดเอกภาพ
1. การควบคุมบังคับน้ำในป่าพรุที่เหมาะสม
2. การดูแลบำรุงรักษาป่าพรุและสิ่งปลูกสร้าง
3. การจัดการความเสี่ยงต่อการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าพรุ
4. การประสานการดำเนินงานพัฒนาป่าพรุให้มีประสิทธิภาพและเกิดเอกภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การฟื้นฟูความหลากหลาย ทางชีวภาพของนิเวศป่าพรุ
1. การฟื้นฟูทรัพยากรดินและน้ำ
2. การฟื้นฟูพันธุ์ไม้ดั้งเดิมของป่าพรุในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง
3. การฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำและสิ่งมีชีวิตในน้ำ
4. การฟื้นฟูสัตว์ป่า
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : เสริมสร้างกระบวนการ มีส่วนร่วมทุกระดับ ในการอนุรักษ์และ รักษาสิ่งแวดล้อมป่าพรุ
1. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่นในการพัฒนาป่าพรุทุกขั้นตอน
2. การสร้างกระบวนการคนอยู่กับป่าพรุอย่างเกื้อกูลกัน
3. การสร้างเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ป่าพรุ
4. การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ จัดทำฐานข้อมูลและสื่อสารประชาสัมพันธ์ใน
3.2.3 ยุทธศาตร์ข้าวครบวงจรในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง (เจ้าภาพ : ศูนย์วิจัยข้าวนครศรีธรรมราช กรมการข้าว)
วิสัยทัศน์
ลดต้นทุน เพิ่มหนุนผลผลิต ประสิทธิภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว ชาวนามั่นคง ผลิตตรงความต้องการ
เป้าประสงค์
เพื่อพัฒนาการผลิตข้าวอย่างครบวงจร สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อม วิถีชีวิต และตลาด
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ด้านการผลิต
1. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
2. การควบคุมและรับรองคุณภาพ
3. การลดต้นทุนรายจ่าย
4. การวางแผนการผลิต (Crop Pattern)
5. การเพิ่มรายได้จากผลพลอยได้การเกษตร
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่ม
1. การแปรรูป
2. การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ (Packaging)
3. การสร้างตราสัญลักษณ์ (Branding)
4. การสร้างกระแสการบริโภค
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : ด้านการธุรกิจ
1. การเข้าถึงแหล่งทุน
2. การตลาด
3. การเสริมสร้างองค์ความรู้ให้แก่กลุ่มเกษตรกร
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ด้านการบริหารจัดการ
1. การสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันเกษตรกร
2. การจัดการระบบการผลิต
3. การจัดการแปรรูปผลผลิต
4. การจัดการธุรกิจ